วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

ผู้จัดทำ
ด.ช.สิทธิโชค นฤภัย ม2/6 เลขที่11  http://sittichok8259mp.blogspot.com/
ด.ช.กรกฤต   พงษ์พิมาย  ม.2/6  เลขที่ 1 http://fordkorakrit.blogspot.com/
ด.ช.สิทธิพล  พรมบุตร ม2/6 เลขที่12 http://sittipol29567.blogspot.com/
ด.ช.ณัฐนนท์  อนันตะสุข ม.2/6 เลขที่ 2


ทุ่มน้ำหนัก





การทุ่มน้ำหนัก

            การทุ่มน้ำหนักเป็นกรีฑาประเภทลานที่ต้องอาศัยโครงสร้างของร่างกายที่สูงใหญ่ แข็งแรง มีกำลังความเร็ว ความคล่องตัว ตลอดจนความสัมพันธ์ในการประสานงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ผู้เล่นหรือผู้แข่งขันแต่ละคนจะต้องทุ่มลูกน้ำหนักที่มีน้ำหนักเท่าๆกัน ภายในพื้นที่วงกลมที่ราบเรียบตามที่กติกากำหนดไว้ โดยทุ่มออกไปข้างหน้า ผู้ที่ทุ่มได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะ

ขั้นตอนและวิธีการทุ่มน้ำหนัก
        ขั้นตอนการทุ่มน้ำหนักมี   4 ขั้นคือ
            1).  การเตรียมตัว
            2)การเคลื่อนที่
            3)การทุ่มลูกน้ำหนัก
            4)การทรงตัว

การถือลูกน้ำหนัก
          การถือลูกน้ำหนักเพื่อเตรียมทุ่มมีหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะความสั้นยาวของนิ้วมือและความถนัดของนักกีฬาแต่ละคน การถือลูกน้ำหนักที่ถูกต้องมีส่วนช่วยให้ทุ่มน้ำหนักไปได้ไกล วิธีถือลูกน้ำหนักโดยทั่วไป มี 3 วิธี คือ
แบบที่ 1 ใช้ 2 นิ้วประคองลูก และใช้ 3 นิ้วผลักส่งลูกโดยให้ลูกน้ำหนักอยู่ที่โคนนิ้วโดยเฉพาะโคนนิ้วกลางรับน้ำหนักมากที่สุด นิ้วชี้ นิ้วนางและนิ้วกลาง อยู่ข้างหลัง
ลูก นิ้วก้อยและนิ้วหัวแม่มืออยู่ข้างหน้า
         แบบที่ 2 ใช้นิ้วหัวแม่มือประคองลูกอยู่ทางด้านข้างนิ้วก้อยอยู่ด้านข้างค่อนไปทางข้างหน้าเล็กน้อย ซึ่งจะช่วยทั้งการส่งและการประคองลูก ลูกน้ำหนักอยู่ที่โคนนิ้วทั้ง 4
แบบที่ 3 การถือโดยให้ลูกน้ำหนักต่ำลงมาอยู่ที่ฝ่ามือมากขึ้น และนิ้วทั้ง 4นอกจากนิ้วหัวแม่มืออยู่ข้างหลัง ช่วยในการออกแรงส่ง นิ้วหัวแม่มือประคองลูก


   ทักษะและเทคนิคในการทุ่มน้ำหนัก

            การทุ่มน้ำหนักมีหลายแบบ โดยอาจแบ่งได้ทั้งแบบทักษะเบื้องต้น แบบการฝึกและแบบการแข่งขัน โดยแบ่งได้ดังนี้
            1)การทุ่มแบบยืนทุ่มอยู่กับที่
            2)การทุ่มแบบยืนหันข้างเคลื่อนที่
            3)การาทุ่มแบบยืนหันหลังเคลื่อนที่
การทุ่มแบบยืนอยู่กับที่
            การยืนเตรียมทุ่ม
            1)การแข่งขันทุ่มน้ำหนัก ผู้ทุ่มต้องยืนและทุ่มภายในวงกลมที่กำหนดให้ตามกติกา
            2)สำหรับผู้ที่ถนัดขวา ให้เริ่มหยิบลูกน้ำหนักด้วยมือซ้าย (เพื่อช่วยสงวนกำลังของมือขวา)
แล้วนำมาวางบนมือขวา ถือลูกน้ำหนักวางทาบที่ใต้ขากรรไกร คือระหว่างคอกับไหล่ หันฝ่ามือไปข้างหน้าใช้แก้มกระชับไว้
        3)ตลอดแขนจนถึงปลายนิ้วมือไม่เกร็ง แบะข้อศอก ตั้งข้อมือ ยืนหันหลังข้างซ้ายในทิศทางที่จะทุ่ม
            4)แขนข้างที่ไม่ได้ใช้ทุ่มให้เหยียดไปข้างหน้าสูงกว่าระดับไหล่หรืออาจจะชูเหนือศีรษะ งอแขนเล็กน้อย เท้าขวาแยกห่างจากเท้าซ้ายประมาณ  1  ช่วงไหล่ ปลายเท้าขนานกัน
    




การเคลื่อนไหวก่อนทุ่ม

            1)โน้มตัวไปด้านหลัง ถ่ายน้ำหนักไปที่เท้าขวา งอแขนซ้ายมาด้านหน้า
            2)ยกส้นเท้าซ้ายขึ้นเล็กน้อย พร้อมกับบิดไหล่ สะเอวข้างขวาต่ำลงให้ลูกน้ำหนัก เข่าและปลายเท้าอยู่บนเส้นดิ่งเดียวกัน

การทุ่ม
            1)โล้น้ำหนักตัวไปทิศทางที่จะทุ่มพร้อมกับเหยียดเข่าขวาขึ้น บิดไหล่ สะเอวแอ่นอกและดันลูกน้ำหนักออกจากซอกคอเฉียดปลายคางไปข้างหน้า เป็นมุม 45 องศา
            2)เหยียดแขนดันลูกน้ำหนักไปให้สุดแขนอย่างแรงและส่งตามด้วยเท้าขวาอย่างต่อเนื่องฉับพลัน ขณะเดียวกันแขนซ้ายและไหล่ซ้ายจะเหวี่ยงกลับไปด้านหลัง
           
 การทรงตัวหลังทุ่ม
            1)เมื่อเหยียดแขนทุ่มลูกน้ำหนักไปข้างหน้าแล้วให้โดดลอยตัวด้วยแรงส่งของเท้าขวา โดยใช้เท้าขวาก้าวในลักษณะกระโดดเล็กน้อยแทนเท้าซ้าย แล้วลงพื้นด้วยปลายเท้าขวาพร้อมกับย่อเข่า


            2)แขนซ้ายเหวี่ยงไปด้านหลังเล็กน้อยเพื่อช่วยในการทรงตัว ตามทองลูกน้ำหนักที่ทุ่มไป


  



การเคลื่อนไหวก่อนทุ่ม


            1)ให้ย่อตัวลงตรงๆ โดยงอเข่าบิดลำตัวเฉียงมาทางขวาเล็กน้อย เหวี่ยงเท้าขวาข้ามมาใกล้เท้าซ้าย งอเข่าเล็กน้อย แต่อย่าให้ชิดเท้าขวามากนัก

            2)แขนซ้ายปล่อยให้ห้อยลงมาข้างหน้าตามสบาย น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวา ลำตัวจะเฉียงมาข้างหน้ามากขึ้น ก่อนการเคลื่อนที่ต้องใช้การแตะนำของเท้าซ้าย แล้วดันเท้าขวาเหยียดขึ้นส่งโดยแรง
        3)สไลด์เท้าขวาจรดกลางวงกลม ในจังหวะต่อเนื่องกันปลายเท้าซ้ายจะจรดพื้นใกล้ขอบในวงกลม
            การทุ่ม
            1)ขณะที่ปลายเท้าซ้ายจรดพื้นใกล้ขอบในวงกลมให้โล้ตัวผ่านขาทั้งสองข้างไปข้างหน้า ประกอบกับการบิดส่งด้วยไหล่ขวา หมุนสะโพกแล้วถีบตัวส่งขึ้นด้วยเท้าขวา ทำให้น้ำหนักตัวมาข้างหน้าและแบ่งน้ำหนักตัวมายังเท้าซ้าย
            2)ขณะเดี่ยวกับแขนซ้ายเริ่มเหวี่ยงไปข้างหลังโดยเร็วและแรง การที่แขนซ้ายเหวี่ยงไปเช่นนี้จะช่วยให้ลำตัวหมุนมาข้างหน้า
            3)เมื่อขาขวาและแขนซ้ายช่วยกันดันและเหวี่ยงลำตัวมาข้างหน้าจนไหล่ทั้งสองและเอวไปข้างหน้าตามทิศทางที่จะทุ่มไปแล้ว แขนขวาต้องเริ่มเคลื่อนที่โดยทุ่งแขนขวาเฉียงขึ้นผลักลูกน้ำหนักออกจากซอกคอไปข้างหน้าเต็มแรง ปล่อยให้ลูกหลุดมือออกไปเป็นมุม  45  องศา
การทรงตัวหลังการทุ่ม
            
1)ขณะที่ดันลูกน้ำหนักออกจากซอกคอให้ถีบส่งตัวขึ้นด้วยเท้าข้างขวา พร้อมกับเหวี่ยงข้อมือซ้ายกลับหลังแล้วกระโดดสกัดเท้าหน้าด้วยปลายเท้า งอเข่าขวาเล็กน้อย
            2)การชักเท้าซ้ายเหวี่ยงกลับหลัง กางแขนซ้ายออกและยกเท้าซ้ายขึ้นเพื่อการทรงตัว ตามองลูกน้ำหนักที่ทุ่มออกไป





การทุ่มแบบยืนหันหลังเคลื่อนที่

          การยืนเตรียมทุ่ม
           
 1)วิธีหยิบลูกให้ใช้วิธีเดียวกับการยืนทุ่มอยู่กับที่
           
2)ยืนในวงกลมโดยยืนหันหลังไปในทิศทางที่จะทุ่มลูกน้ำหนัก เท้าขวาอยู่ด้านหน้าเท้าซ้าย ปล่อยเท้าขวาชิดขอบในด้านหลังของวงกลม
           
 3)เข้าขวาเหยียดตรงตึง เข้าซ้ายงอเล็กน้อย มือขวาถือลูกน้ำหนักไว้ที่ซอกคอ มือซ้ายเหยียดตรงขึ้นข้างหน้าหรือเฉียงไปข้างซ้ายเล็กน้อย
           
 การเคลื่อนไหวก่อนทุ่ม



            1)จากท่ายืนเตรียมทุ่ม ให้โน้มลำตัวไปข้างหน้า

 ยกเท้าซ้ายขึ้น เหยียดไปข้างหลังให้เกือบเป็นเส้นตรงเดียวกับลำตัว ลำตัวขนานกับพื้น ก้มหน้าลงสู่พื้

            
2)แขนซ้ายเหยียดตรงไปข้างหน้า จากนั้นให้ย่อเข่าขวา งอตัวก้มหน้า พร้อมกับดึงเท้าซ้ายงอเข้ามาแล

ห่อตัวจนเข่าได้แนวเดียวกับเข้าขวา แล้วเหยียดเท้าซ้ายกลับออกไปโดยเร็วพร้อมกับโล้ตัวตามไปโดยเร็ว

            
3)สไลด์เท้าขวาให้จรดพื้นวงกลมพอดี จังหวะต่อไปเท้าซ้ายจะเริ่มจรดขึ้นใกล้ขอบในด้านหน้าวงกลม 

ขณะสไลด์พยายามให้แขนขาและลำตัวคงอยู่ในลักษณะเดิม
            
การทุ่ม
            
1)เมื่อปลายเท้าซ้ายจรดพื้นใกล้ขอบในด้านหน้าวงกลม เอว สะโพก ลำตัว และไหล่จะเริ่มบิดไปทางซ้ายโดยเร็ว
            
2)กลั้นลมหายใจ ดันส่งลูกน้ำหนักออกจากซอกคอโดยแรงขึ้นเป็นมุม 45 องศา และส่งตามด้วยเท้าขวา น้ำหนักตัวจะเคลื่อนไปข้างหน้า
           
 การทรงตัวหลังทุ่ม
            
1)หลังจากการทุ่มลูกน้ำหนักออกไปแล้ว เนื่องจากน้ำหนักตัวโถมตัวไปทางซ้าย ต้องรีบก้าวเท้าขวาตาม (ไม่เช่นนั้นอาจล้มได้)
        
2)เมื่อได้ระดับแล้วให้เหวี่ยงเท้าซ้ายกลับมาข้างหลัง


กระโดดไกล

กระโดดไกล(Long jump)


              กะโดดไกล  คือ       การกระโดดออกจากจุดกระโดดไปให้ไกลที่สุดด้วยความเร็วและความสูงพอที่จะ ปรับตัวในการลงสูงพื้นได้
อย่างมีจังหวะพอดี ซึ่งเป็น การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องสัมพันธ์กันตั้งแต่เริ่มวิ่งก้าวแรกจนถึงลงสู่พื้น


เทคนิคการกระโดดไกล

การกระโดดไกลแบ่งออกเป็นสี่องค์ประกอบใหญ่ๆ คือ ช่วงวิ่ง ช่วงกระโดด ช่วงลอยตัว และช่วงลงพื้น 

ในช่วงวิ่ง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความคงเส้นคงวา คุณต้องฝึกให้โดดออกจากแผ่นบอร์ดในตำแหน่งเดิมทุกครั้งที่คุณกระโดด และสิ่งสำคัญอันดับสองคือความเร็ว คุณต้องพยายามเร่งความเร็วตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนเมื่อถึงจุดสิ้นสุดหรือตรงแผ่นบอร์ดนั้น ความเร็วของคุณต้องสูงที่สุดแล้ว หมายความว่าแรงเคลื่อนที่ต้องเร็วขึ้นเรื่อยๆอย่างคงที่ นอกจากนี้ คุณต้องมีพละกำลังอย่างมากในการที่จะเปลี่ยนความเร็วในการวิ่งมาเป็นพลังในการกระโดด

ในช่วงกระโดด มันสำคัญมากที่คุณจะต้องกระโดดออกจากแผ่นบอร์ดพอดี แต่ก่อนจะถึงจุดนี้ เป็นเป็นช่วงที่เราเรียกว่า “Amortization Phase” คือเป็นช่วงที่คุณต้องย่อสะโพกลงนิดหน่อยเพื่อเปลี่ยนความเร็วจากการวิ่งให้เป็นพลังที่จะดีดตัวขึ้นไปในช่วงกะโดด พอถึงจุดนี้ คุณต้องเอาขาข้างที่ไม่ได้ใช้กระโดด (Free Knee, None Take-off Leg) กวาดมาไว้ข้างหน้า เพื่อช่วยเปลี่ยนแรงกระโดดจากแนวตั้งมาเป็นแนวนอน

ในช่วงลอยตัว นักกีฬาแต่ละคนก็มีเทคนิคที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งหลักๆก็จะมี เทคนิคที่เรียกว่า Hang นักกีฬาจะคงลักษณะเหมือนถูก “แขวน” อยู่กลางอากาศ เทคนิค Sail คือเทคนิคที่แปลได้ตรงตัวเลยค่ะ คือนักกีฬาจะเหมือน “ล่อง” ไปกลางอากาศโดยเอาสะโพกนำไปก่อน หรือเทคนิค Hitch Kick ซึ่งนักกีฬาจะทำท่าแกว่งขาเหมือนวิ่งอยู่กลางอากาศ จริงๆแล้วขั้นตอนที่อยู่กลางอากาศนี้ทางเทคนิค เป็นขึ้นตอนที่สำคัญน้อยที่สุด เพราะคุณอยู่กลางอากาศแล้ว คุณก็แค่ต้องพยายามที่จะลอยตัวอยู่ให้ได้นานที่สุด

ช่วงลงพื้นนี้เป็นช่วงที่สำคัญต่อการตัดสินแพ้ชนะได้ เพราะคุณอาจทำความยาวได้อีกครึ่งเมตรถึงหนึ่งเมตร ขั้นตอนนี้เป็นช่วงการเหยียดขา (Leg Shoot) จะเป็นประโยชน์ ในช่วงนี้คุณต้องงอปลายเท้าเข้าหาตัว เอาศีรษะเอนเข้าหาเข่า จากนั้นขณะที่ลงสู่พื้นทราย พยายามดึงลำตัวของคุณเข้าหาส้นเท้าให้ได้มากที่สุด สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดและอาจจะทำให้คุณแพ้หรือชนะการแข่งกระโดดไกลได้เลยทีเดียว

บอลเลบอล

   
 กีฬาวอลเลย์บอลเป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬายอดนิยม ที่มีการแข่งขันระดับชาติ และนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย จนถูกรวมเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาในหลายโรงเรียน ซึ่งหลายคนก็คงอยากรู้จักกับกีฬาวอลเลย์บอลให้มากขึ้นเพื่อความสนุกในการชมและเชียร์กีฬาชนิดนี้ใช่ไหมเอ่ย ? วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลของกีฬาวอลเลย์บอลมาฝากกันจ้า ..

ประวัติวอลเลย์บอล

          กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) นั้น ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men's Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้ง เพื่อออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก

          โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน เกิดไอเดียในการพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลขึ้น ขณะที่เขากำลังนั่งดูเทนนิส และเลือกนำเอาตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาเป็นส่วนประกอบในกีฬาที่เขาคิดค้น และเลือกใช้ยางในของลูกบาสเก็ตบอล มาเป็นลูกบอลที่ใช้ตีโต้ตอบกันไปมา แต่ยางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงเปลี่ยนไปใช้ลูกบาสเก็ตบอลแทน ซึ่งลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก เขาจึงสั่งทำลูกบอลขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์ จากนั้นจึงตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)

          ต่อมา ชื่อของ มินโทเนตต์ (Mintonette) ถูกเปลี่ยนเป็น วอลเลย์บอล (Volleyball) หลังได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) เมื่อปี ค.ศ.1896 (พ.ศ.2439) และกลายเป็นกีฬายอดนิยมในหมู่ประชาชนชาวอเมริกัน จนแพร่หลายออกไปทั่วโลก รวมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เป็นระยะ

กติกาวอลเลย์บอล

สนามแข่งขัน

          -  จะต้องเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูนที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง

          -   เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ความสูงจากพื้นประมาณ 7 เมตร มีบริเวณโดยรอบห่างจากสนามประมาณ 3 เมตร

          -  แต่หากเป็นสนามมาตรฐานในระดับนานาชาติ กำหนดให้รอบสนามห่างจากสนามประมาณ 5 เมตร ด้านหลังห่าง 8 เมตร และมีความสูง 12.5 เมตร

          -  เส้นรอบสนาม (Boundary lines) ทุกเส้นจะต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนตัดกับพื้นสนาม มองเห็นได้ชัดเจน

          -  เส้นแบ่งเขตแดน (Center line) ที่อยู่ตรงกลางสนาม จะต้องอยู่ใต้ตาข่าย หรือตรงกับเสาตาข่ายพอดี

ตาข่าย

          -  จะต้องมีความสูงจากพื้น 2.43 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 - 10 เมตร

          -  ตารางในตาข่ายกว้าง 10 เซนติเมตร ผู้ติดไว้กับเสากลางสนาม
ชื่อด.ช. สิทธิโชค นฤภัย ม2/6 เลขที่ 11



พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้การประกาศใช้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2550  (หมวดที่1) เเบบแอนิเมชั่น 3มินติ


1. เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้อนุญาตให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา ถ้าเราแอบเข้าไป  จำคุก 6 เดือน


2.เจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นเเล้วไปเผยเเเพร่ให้คนอื่นรู้ จำคุกไม่เกิน1ปี

3. แอบเข้าไปล้วงข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บเอาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์   จำคุกไม่เกิน 2 ปี


4. ข้อมูลที่ถูกส่งหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แล้วไปดักจับข้อมูลของเขา จำคุกไม่เกิน 3 ปี

5.ข้อมูลที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้ามีไปตัดต่อ ดัดแปลง … จำคุกไม่เกิน 5 ปี (ดังนั้นอย่าไปแก้ไขงานเอกสารที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์คนอื่น)

6.ปล่อย  ไวลัส เข้าระบบคอมพิวเตอร์คนอื่นแล้วระบบเข้าเสียหาย จำคุกไม่เกิน 5 ปี

7. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. และสร้างความเสียหายใหญ่โต เช่น เข้าไปดัดแปลงแก้ไข ทำลาย ก่อกวน ระบบสาธารณูปโภค หรือระบบจราจร ที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ จำคุกสิบปีขึ้น

8. ถ้ารบกวนโดยการส่ง email โฆษณาต่างๆไปสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

9. ถ้าเราสร้างโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์เพื่อเพื่อสนับสนุนผู้กระทำความผิด จำคุกไม่เกินปีนึง

10. ส่งภาพโป๊ , ประเด็นที่ไม่มีมูลความจริง, ท้าทายอำนาจรัฐ  จำคุกไม่เกิน 5 ปี



 1.อัพโหลดรูปลามกอนาจารโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท จำคุก 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ 
2.ตั้งตัวเป็นเจ้ากรมข่าวลือโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท จำคุก 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.ใช้ความสามารถในทางที่ผิดตัดต่อไม่ว่าจะภาพนิ่วหรือวิดีโอแล้วนำมาเผยแพร่ทำให้เกิดความเสียหาย โทษปรับไม่เกิน 60,000 บาท จำคุก 3 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ 
4แอบเซฟขโมยข้อมูลของบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของตนเอง ถ้าหากพบจะดำเนินคดีข้อหาลักทรัพย์ รวมทั้งความผิดตามกฎหมายลิขสิทธิ์และพรบ.คอมพิวเตอร์
5.ใส่ร้ายป้ายสีบุคคลอื่นโดยการใช้เทคโนโลยีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาทจำคุก 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
6.ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลการแอบเอาไอดีหรือพาสเวิร์ดผู้อื่นไปใช้โทษทั้งจำทั้งปรับ
7.การแก้ไขหรือลบไฟล์งานของบุคคลอื่นทำให้เกิดความเสียหายโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท จำคุก 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
8.การส่งอีเมลลูกโซ่ โทษปรับไม่เกิน100,000บาท
9.การตั้งสำนักข่าวเป็นของตัวเอง อาทิในไลน์ เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ เป็นขอกดแชร์ไว้ก่อนโดยไม่มีการเช็คข้อเท็จจริง และ 
10.การโพสต์ข้อความใดๆที่เป็นการหมิ่นเบื้องสูงหรือทำเว็บไซต์หมิ่นสถาบัน มีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ถือเป็นความผิดร้ายแรงทั้งกฎหมายอาญาและพรบ.คอมพิวเตอร์ โทษจำคุกสูงสุด 15 ปี 

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กีฑา

 กรีฑา (อังกฤษ: athletics) หมายถึงเฉพาะรายการแข่งขันกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการวิ่งแข่ง การกระโดด การขว้างและการเดิน ประเภทการแข่งขันกรีฑาที่พบแพร่หลายที่สุด คือ ลู่และลาน วิ่งทางเรียบ วิ่งวิบาก และเดินแข่ง ด้วยความเรียบง่ายของการแข่งขัน และไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพง ทำให้กรีฑาเป็นหนึ่งในกีฬาที่มีการแข่งขันกันมากที่สุดในโลก

กรีฑาซึ่งได้รับการจัดตั้งสามารถสืบย้อนไปได้ถึงกีฬาโอลิมปิกสมัยโบราณนับแต่ 776 ปีก่อนคริสตกาล และรายการแข่งขันกรีฑาสมัยใหม่ส่วนใหญ่มีสโสมรสมาชิกของสหพันธ์กรีฑานานาชาติ (IAAF) กรีฑาเป็นกระดูกสันหลังของโอลิมปิกฤดูร้อนสมัยใหม่ และการชุมนุมระหว่างประเทศชั้นนำอื่น ๆ รวมทั้ง การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก (IAAF World Championships) และการแข่งขันกรีฑาในร่มชิงแชมป์โลก (World Indoor Championships) และกรีฑาสำหรับผู้พิการทางกายแข่งขันกันที่ พาราลิมปิกฤดูร้อน และการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกของคณะกรรมการพาราลิมปิกระหว่างประเทศ (IPC Athletics World Championships)
     ตามประวัติของกรีฑา เชื่อกันว่าชาวกรีกสมัยโบราณเป็นผู้ริเริ่มการแข่งขันกีฬาและกรีฑาขึ้น ในราว776 ปี ก่อนคริสตกาล โดยมีจุดประสงค์ที่จะเตรียมพลเมืองของกรีกให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะรับใช้ประเทศชาติในการป้องกันประเทศได้อย่างเต็มที่ อีกเหตุผลหนึ่งคือ ชาวกรีกในสมัยนั้นนับถือเทพเจ้าหลายองค์ ซึ่งเทพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้บันดาลความสุขหรือความทุกข์ให้แก่พวกเขา ดังนั้นชาวกรีกจึงพยายามเอาใจเทพเจ้า ด้วยการทำพิธีบวงสรวงหรือทำพิธีกรรมต่างๆ เมื่อเสร็จการบวงสรวงตามพิธีทางศาสนาแล้วจะต้องมีการเล่นกีฬาถวาย ณ ที่ลานเชิงเขาโอลิมปัส แคว้นอีลิส เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระเกียรติของเทพเจ้าเหล่านั้น
     การเล่นกีฬาที่บันทึกเป็นประวัติศาสตร์สืบทอดกันมาก็คือ การเล่นกีฬา 5 ชนิด ได้แก่ การวิ่งแข่ง การกระโดด มวยปล้ำ พุ่งแหลน และขว้างจักร โดยผู้เล่นแต่ละคนต้องเล่นกีฬา 5 ชนิดนี้ จะเห็นได้ว่านอกจากมวยปล้ำแล้วกีฬาอีก 4 ชนิด ล้วนแต่เป็นกรีฑาทั้งสิ้น การเล่นกีฬาดังกล่าวได้ดำเนินมาเป็นเวลาถึง 1,200 ปี กรีกก็เสื่อมอำนาจลงและตกอยู่ใต้อำนาจของโรมัน การกีฬาของกรีกก็เสื่อมลงด้วยตามลำดับ จนกระทั่งปี ค.ศ. 393 จักรพรรดิ์ธีโอดอซีอุส แห่งโรมัน ได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการเล่นนั้น เพราะการแข่งขันในตอนปลายก่อนยกเลิกมุ่งหวังสินจ้างรางวัลและเป็นการพนัน มากกว่าการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ
หลักจากที่โอลิมปิกสมัยโบราณยุติไป 15 ศตวรรษ ก็ได้มีบุคคลสำคัญผู้หนึ่ง คือ บารอน เปียเดอร์คู แบร์แตง ซึ่งเป็นชาวผรั่งเศส ได้ชักชวนบุคคลสำคัญของประเทศต่างๆ ให้เข้าร่วมตกลงเปิดการแข่งขันโอลิมปิกปัจจุบันขึ้นใหม่ โดยจัดให้มีการแข่งขัน 4 ปี ต่อ 1 ครั้ง ในข้อตกลงให้บรรจุการเล่นกรีฑาเป็นกีฬาหลักของการแข่งขัน เพื่อเป็นเกียรติและเป็นอนุสรณ์ชนชาติกรีกที่เป็นผู้ริเริ่มจึงลงมติเห็นชอบพร้อมกันให้ประเทศกรีกจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นประเทศแรก ในปี ค.ศ.1896 พ.ศ.2439 ณ กรุงเอเธนส์
กรีฑาสำหรับประเทศไทย
     สำหรับการแข่งขันกรีฑาในประเทศไทย กระทรวงธรรมการได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑานักเรียนขั้นครั้งแรกในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 ณ ท้องสนามหลวง ในพิธีเปิดการแข่งขันครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดการแข่งขันและทอดพระเนตรการแข่งขัน นับตั้งแต่นั้นมากระทรวงธรรมการได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑานักเรียนประจำทุกปีตลอดมา
ปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดตั้งกรมพลศึกษาขึ้น โดยมีนโยบายส่งเสริมการกีฬาของชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น หลังจากนั้นกีฬาและกรีฑาก็ได้รับการสนับสนุนมากขึ้น โดยจัดให้มีการแข่งขันกรีฑาระหว่างโรงเรียน ระหว่างมหาวิทยาลัยและกรีฑาประชาชน
ปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการจัดการแข่งขันกรีฑาประเภทมหาวิทยาลัยและประชาชนแทนกรมพลศึกษา
ปี พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งองค์กรส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริมกีฬาประชาชน โดยจัดให้มีการแข่งขัน "กีฬาแห่งชาติ" ทุกปี
ปี พ.ศ. 2528 เปลี่ยนชื่อจากองค์กรส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย เป็น "การกีฬาแห่งประเทศไทย"
ประโยชน์ของการเล่นกรีฑา
รูปแบบของสนาม

อย่างถูกหลักเกณฑ์และวิธีการ ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์และ
สังคม เช่นเดียวกับกีฬาชนิดอื่น ๆ ดังนี้
ประโยชน์ทางด้านร่างกาย
1. ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง สมบูรณ์ มีความคล่องแคล่วว่องไว มีความทรหดอดทน
2. ช่วยเสริมบุคลิกภาพให้เป็นผู้สง่างามสมส่วน สง่าผ่าเผย การทรงตัวดี
3. ช่วยให้อวัยวะและระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดี
ยิ่งขึ้น เช่น ระบบการหมุนเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร
4. ช่วยให้ร่างกายมีความอดทน ทำงานได้นาน เหนื่อยช้าและหายเหนื่อยเร็ว
5. ช่วยระบายพลังงานส่วนเกินออกไปในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น
6. ช่วยให้ร่างกายมีความต้านทานโรคได้ดี
ประโยชน์ทางด้านจิตใจและอารมณ์
1. ช่วยให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความกล้าในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
2. ช่วยทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เร้าใจและตื่นเต้น
3. ช่วยให้มีอารมณ์และจิตใจแจ่มใส ร่าเริง
4. ช่วยระบายความตึงเครียด หลังจากที่ตรากตรำจากการทำงาน
5. ช่วยให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้รู้ชนะและรู้อภัย
ประโยชน์ทางด้านสังคม
1. ช่วยให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฏระเบียบ กติกาอย่างเคร่งครัด
2. ช่วยแก้ปัญหาของสังคม โดยการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
3. ช่วยให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี
4. ช่วยก่อให้เกิดสัมพันธไมตรี และความสามัคคีระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่าย
5. ช่วยก่อให้เกิดสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศโดยใช้การแข่งขันกรีฑาเป็นสื่อ
ท่าทางการวิ่ง
1. ในการวิ่งให้โน้มตัวไปข้างหน้าอย่างน้อย 20 องศา จากเส้นตั้งฉากในการวิ่งเต็มฝีเท้า
2. ศีรษะตั้งตรงทำมุมพอสบายตามองไปข้างหน้า 15 ฟุต ตามทางวิ่ง
3. เท้าก้าวไปข้างหน้าตรง ไม่วิ่งส่ายไปมา
4. ไหล่คงที่ แขนแกว่งจากหัวไหล่ เน้นการกระตุกข้อศอกไปข้างหลังในการเหวี่ยงแขน ไม่ตัดลำตัว
5. มือกำหลวม ๆหรือแบมือก็ได้
6. ช่วงก้าวเท้ายาวเต็มที่ น้ำหนักอยู่บนเท้าที่สัมผัสพื้น
7. การวิ่งทางโค้ง ต้องเอนตัวเข้าด้านในของลู่เล็กน้อย แขนซ้ายแกว่งเป็นวงแคบ แขนขวาแกว่งแรงเป็นวงกว้าง ปลายแขนเหวี่ยงตัดเฉียงลำตัวเข้าหาสนาม ปลายเท้า พยายามจดพื้นเป็นเส้นขนานไปกับทิศทางการวิ่ง
8. ในการวิ่งระยะสั้นต้องใช้ความเร็ว ยกเข่าสูงกว่าการวิ่งระยะกลางและระยะไกล

การตั้งต้นการวิ่งหรือการออกสตาร์ท
ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่ง นิยมใช้อยู่ 3 แบบ นักกีฬามักจะเลือกใช้ตามความถนัดและความเหมาะสมกับความสูงของนักกีฬา
1. แบบ Bunch Start ท่าเริ่มต้นปลายเท้าหลังอยู่แนวเดียวกันกับส้นเท้าหน้า ปลายเท้าหน้าห่างจากเส้นเริ่มประมาณ 19 นิ้ว ปลายเท้าหลังห่างจากเส้นเริ่มประมาณ 29 นิ้ว ท่านี้เหมาะกับนักกรีฑาที่มีรูปร่างเตี้ย
2. แบบ Medium Start ท่าเริ่มต้น เข่าของเท้าหลังวางอยู่ตรงแนวกึ่งกลางของเท้าหน้า ปลายเท้าหน้าห่างจากเส้นเริ่มประมาณ 15 นิ้วปลายเท้าหลังห่างจากเส้นเริ่มประมาณ 34 นิ้ว ท่านี้เหมาะกับนักกรีฑามีรูปร่างสันทัดปานกลาง
3. แบบ Elongated Start ท่าเริ่มต้นให้เข่าของเท้าหลังวางอยู่ในแนวเดียวกับส้นเท้าหน้า ปลายเท้าหน้าห่างจากเส้นเริ่มประมาณ13 นิ้ว ปลายเท้าหลังห่างจากเส้นเริ่มประมาณ 14 นิ้ว ท่านี้เหมาะกับนักกรีฑาที่มีรูปร่างสูงโปร่ง
เมื่อได้ยินคำสั่งว่า "เข้าที่"
1. วางมือทั้งสองบนพื้นห่างกันประมาณ 1 ช่วงไหล่ กางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ออก
นิ้วอื่นชิดกันวาง ชิดเส้นเริ่ม
2. แขนตึง นิ้วมือเกร็งเป็นรูปถ้วย
3. วางเท้าตามท่าที่เลือกหรือท่าที่ถนัด
เมื่อได้ยินคำสั่งว่า "ระวัง"
ให้ยกสะโพกขึ้นอยู่ในระดับไหล่ หรือสูงกว่าระดับไหล่ ตามองไปข้างหน้าพร้อมที่จะถีบเท้าไปข้างหน้า
เมื่อได้ยินเสียงปืน หรือ "ไป "
1. ให้ออกวิ่งทันทีที่ได้ยินเสียงปืนหรือ ไป ลำตัวพุ่งเอนไปข้างหน้า
2. ก้าวแรกไม่ควรก้าวยาวเกินไปเพราะจะทำให้ตัวตั้งสู่มุมวิ่งปกติเร็วเกินไป

1. ไม่ควรชะลอตัวแม้ว่าถึงเส้นชัยแล้วก็ตาม ควรวิ่งเลยเส้นชัยแล้วค่อย ๆผ่อน ชะลอตัว
2. ไม่ควรกระโดดเข้าเส้นชัยเพราะอาจเสียการทรงตัว
3. ใช้วิธีพุ่งตัวให้หน้าอกหรือไหล่แตะแถบเส้นชัย เหวี่ยงแขนไปข้างหลังให้อกหรือไหล่ยื่นไกลออกไปเพื่อแตะแถบเส้นชัย แล้ววิ่งเลยไปตามแรงส่งเพื่อไม่ให้เกิดการเสียหลัก



การเป็นผู้เล่นที่ดีจะได้รับการยกย่องจากสังคมทั่วไปว่าเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา เป็นที่นิยมชมชอบของบุคคลทั่วไป จึงควรมีข้อปฏิบัติดังนี้
1. นักกรีฑาที่ดีจะต้องศึกษาและเข้าใจในระเบียบ กฎ กติกาการแข่งขันอย่างถูกต้องและชัดเจน
2. นักกรีฑาที่ดีจะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาการแข่งขันอย่างเคร่งครัด
3. นักกรีฑาที่ดีจะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย รัดกุมและปลอดภัย
4. นักกรีฑาที่ดีจะต้องมีกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อย
5. นักกรีฑาที่ดีจะต้องรู้จักประมาณความสามารถของตน ไม่เย่อหยิ่งจองหอง
6. นักกรีฑาที่ดีจะต้องเล่นและแข่งขันด้วยชั้นเชิงของนักกีฬา รู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย
7. นักกรีฑาที่ดีจะต้องให้เกียรติผู้แข่งขันอื่น รวมทั้งผู้ตัดสินด้วย
8. นักกรีฑาที่ดีจะต้องยอมรับและเชื่อฟังคำตัดสินของผู้ตัดสิน
9. นักกรีฑาที่ดีจะต้องเป็นผู้รู้จักข่มใจ รักษาสติไม่แสดงโมโหโทโส
10. นักกรีฑาที่ดีจะต้องรู้จักทำใจให้หนักแน่นเมื่อปราชัย และไม่แสดงอาการดีใจจนออกนอกหน้าเมื่อมีชัย
11. นักกรีฑาที่ดีจะต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่นทั้งในขณะซ้อมและแข่งขัน
12. นักกรีฑาที่ดีจะต้องไม่หยิบอุปกรณ์เครื่องใช้ก่อนได้รับอนุญาต
     กรีฑาจัดเป็นกีฬาที่เก่าแก่ที่สุด และเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ ในสมัยโบราณมนุษย์ยังไม่รู้จักการทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง ไม่รู้จักสร้างที่อยู่อาศัยหรือเครื่องนุ่งห่ม จึงต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติและสัตว์ป่านานาชนิด มนุษย์พวกนี้จึงเป็นต้นกำเนิดของกีฬา เพราะการที่มนุษย์ออกไปหาอาหารมาเลี้ยงชีพ บางครั้งต้องวิ่งหนีสัตว์ร้ายอย่างรวดเร็ว การวิ่งเร็วของคนถ้าเทียบกับปัจจุบันก็เป็นการวิ่งระยะสั้น หากการวิ่งหนีบางครั้งต้องข้ามกิ่งไม้ ต้นไม้ หรือก้อนหิน ปัจจุบันก็กลายมาเป็นวิ่งข้ามรั้วและวิ่งกระโดดสูง
การเล่นกรีฑาที่เหมาะสมกับเพศ วัย และสภาพของร่างกายตลอดจนมีการฝึก
การวิ่งเข้าเส้นชัย
มารยาทของการเป็นผู้เล่นที่ดี