วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กอล์ฟ

  

1-1 ทั่วไป
กีฬากอล์ฟประกอบด้วยการเล่นลูกหนึ่งลูกจากแท่นตั้งทีไปลงหลุมด้วยการตีหนึ่งครั้ง หรือหลายครั้งต่อเนื่องกันตามกฎข้อบังคับ
1-2 การทำให้เกิดผลกระทบต่อลูก
ผู้เล่นหรือแคดดี้จะต้องไม่กระทำการใดๆ อันมีผลกระทบต่อตำแหน่งหรือการเคลื่อนที่ของลูก เว้นแต่การกระทำภายใต้กฎข้อบังคับเท่านั้น (การเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางที่เคลื่อนย้ายได้ ให้ดูกฎข้อ 24-1)
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อ 1-2
การเล่นแบบแมทช์เพลย์ – ปรับเป็นแพ้ในหลุมนั้น
การเล่นแบบสโตรกเพลย์ – ปรับสองแต้ม
หมายเหตุ ถ้าเป็นการละเมิดกฎข้อ 1-2 อย่างร้ายแรง คณะกรรมการอาจกำหนดให้ปรับโทษด้วยการตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
1-3 การสมยอมเพื่อละเว้นการบังคับใช้กฎข้อบังคับ
ผู้เล่นจะต้องไม่สมยอมกันเพื่อละเว้นการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับใดๆ หรือละเว้นการปรับโทษที่เกิดขึ้น
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อ 1-3
การเล่นแบบแมทช์เพลย์ – ตัดสิทธิ์ทั้งสองฝ่ายจากการแข่งขัน
การเล่นแบบสโตรกเพลย์ – ตัดสิทธิ์ผู้เข้าแข่งขันที่เกี่ยวข้องจากการแข่งขัน
(การสมยอมกันเพื่อเล่นผิดลำดับในการเล่นแบบสโตรคเพลย์ ดูกฎข้อ 10-2 ค)
1-4 เรื่องที่ไม่ได้ครอบคลุมโดยกฎข้อบังคับ
หากเกิดการขัดแย้งในเรื่องใดที่ไม่ได้ครอบคลุมโดยกฎข้อบังคับนี้ การตัดสินจะต้องเป็นไปตามหลักความยุติธรรม
กฎข้อ 2 การเล่นแบบแมทช์เพลย์
2-1 ผู้ชนะของแต่ละหลุม และการคิดผลการเล่นเป็นหลุม
การเล่นแบบแมทช์เพลย์ คือ การแข่งขันแบบนับเป็นหลุม
ฝ่ายที่ชนะ คือ ฝ่ายที่ตีลูกลงหลุมด้วยจำนวนน้อยครั้งกว่าในหลุมใดหลุมหนึ่ง ส่วนในแมทช์ที่ใช้แฮนดี้แคป (handicap แปลว่า แต้มต่อ) ฝ่ายที่ชนะของหลุมนั้นๆ คือฝ่ายที่ทำแต้มสุทธิน้อยกว่า เว้นแต่กฎข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
การคิดผลการเล่นให้นับโดยใช้คำว่า “นำอยู่ (กี่หลุม)” หรือ “เสมอกันอยู่” และ “ยังเหลือ (อีกกี่หลุม)” ฝ่ายที่ได้ “ดอร์มมี่ (dormie)” คือฝ่ายที่ชนะจำนวนหลุมไปแล้วเท่ากับจำนวนหลุมที่เหลือให้เล่น
2-2 เสมอกันครึ่งหลุม (Halved-Hole)
เมื่อแต่ละฝ่ายเล่นจบหลุมใดหลุมหนึ่งด้วยจำนวนการตีที่เท่ากัน ให้ถือว่าเสมอกัน ในกรณีผู้เล่นคนหนึ่งได้เลนจบหลุมไปแล้ว และโดนปรับโทษ โดยฝ่ายตรงข้ามยังต้องเล่นเพื่อเสมอกัน ให้ถือว่าเสมอกันในหลุมนั้น
2-3 ผู้ชนะแมทช์
แมทช์ (ประกอบด้วยรอบที่กำหนด เว้นแต่ว่าคณะกรรมการประกาศไว้เป็นอย่างอื่น) ฝ่ายที่ชนะคือ ฝ่ายที่ชนะด้วยจำนวนหลุมที่มากกว่าจำนวนหลุมที่เหลือที่จะต้องเล่น
ในกรณีที่ยังเสมอกัน คณะกรรมการอาจขยายรอบที่กำหนดออกไปอีกกี่หลุมก็ได้เท่าที่จำเป็น เพื่อให้แมทช์ปรากฏผลแพ้ชนะ
2-4 การยอมแพ้ แต้มต่อไป หลุม หรือแมทช์
เมื่อลูกของฝ่ายตรงข้ามหยุดอยู่ หรือถือว่าลูกหยุดแล้วตามกฎข้อ 16-2 ผู้เล่นอาจยินยอมให้ฝ่ายตรงข้ามไม่ต้องเล่นต่อ และถือว่าฝ่ายตรงข้ามได้เล่นจบหลุมนั้นๆ แล้ว และอาจจะนำลูกออกไปโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดด้วยไม้กอล์ฟ หรือด้วยวิธีอื่น ผู้เล่นอาจจะขอยอมแพ้ในหลุมใดหลุมหนึ่งก่อนสิ้นสุดการเล่นหลุมนั้น หรือขอยอมแพ้แมทช์เมื่อใดก็ได้ก่อนสิ้นสุดการเล่นแมทช์ และผู้เล่นไม่อาจปฏิเสธหรือเพิกถอน การยินยอมให้แต้ม หรือให้ชนะในหลุมใด หรือยอมแพ้การเล่นแมทช์ไปแล้ว
2-5 การอ้างสิทธิ์
ถ้ามีข้อสงสัย หรือมีข้อขัดแย้งระหว่างผู้เล่นในการเล่นแบบแมทช์เพลย์ และไม่มีผู้แทนที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการอยู่ในที่นั้นในเวลาอันควร ผู้เล่นจะต้องเล่นต่อไปโดยไม่ชักช้า การอ้างสิทธิ์ใดๆ ก็ตามที่จะให้คณะกรรมการพิจารณา ต้องกระทำก่อนผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเล่นบนแท่นตั้งทีของหลุมต่อไป หรือในกรณีที่เล่นหลุมสุดท้ายจะต้องกระทำก่อนที่ผู้เล่นทุกคนเดินลงจากกรีน
การอ้างสิทธิ์ในภายหลังจะต้องไม่ได้รับการพิจารณา เว้นแต่ว่าการอ้างสิทธิ์นั้นเกิดจากความเป็นจริงที่ผู้อ้างสิทธิ์ไม่ได้ทราบมาก่อน และผู้อ้างสิทธิ์ได้รับข้อมูลผิดพลาดจากฝ่ายตรงข้าม (กฎข้อ 6-2 ก และกฎข้อ 9) ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม การอ้างสิทธิ์ภายหลังจากประกาศผลของแมทช์อย่างเป็นทางการแล้ว จะไม่ได้รับพิจารณานอกจากว่าคณะกรรมการได้รับการชี้แจงจนเป็นที่พอใจว่าฝ่ายตรงข้ามได้รู้ว่าตนบอกข้อมูลผิดพลาด
2-6 การปรับโทษทั่วไป
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อบังคับในการเล่นแบบแมทช์เพลย์คือปรับผู้เล่นเป็นแพ้ในหลุมที่เล่น เว้นแต่กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
กฎข้อ 3 การเล่นแบบสโตรกเพลย์
3-1 ผู้ชนะเมื่อเล่นครบรอบ หรือเล่นครบหลายๆ รอบที่กำหนด ผู้เข้าแข่งขันที่ทำแต้มได้จากการตีจำนวนน้อยครั้งที่สุดคือผู้ชนะ
3-2 การไม่เล่นลูกให้จบหลุม
ถ้าผู้เข้าแข่งขันไม่เล่นลูกจนจบลงในหลุมใดก็ตาม และไม่แก้ไขความผิดพลาดก่อนการตีบนแท่นตั้งทีของหลุมต่อไป หรือก่อนลงจากกรีนของหลุมสุดท้ายของรอบที่เล่น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
3-3 ข้อสงสัยในการปฏิบัติตามขั้นตอนก. การปฏิบัติตามขั้นตอน
เฉพาะในการแข่งขันแบบสโตรกเพลย์เท่านั้น ระหว่างที่เล่นในหลุมใดหลุมหนึ่ง เมื่อผู้เข้าแข่งขันเกิดความสงสัยในสิทธิ์ของตน ผู้เข้าแข่งขันอาจใช้ลูกที่สองเล่นได้อีกหนึ่งลูกโดยไม่มีการปรับโทษ เมื่อมีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้น ก่อนที่จะกระทำการใดๆ ลงไป ผู้เข้าแข่งขันควรแจ้งมาร์คเกอร์ หรือผู้ร่วมแข่งขัน ในการตัดสินใจที่จะนำกฎข้อนี้มาใช้และควรแจ้งว่าจะนับแต้มลูกใดถ้าการปฏิบัติของลูกนั้นถูกต้องตามกฎข้อบังคับ
ถ้าผู้แข่งขันจะต้องรายงานความเป็นจริงต่อคณะกรรมการก่อนส่งมอบสกอร์การ์ด นอกเสียจากว่าแต้มของทั้งสองลูกเท่านั้น หากไม่ปฏิบัติตามนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
ข. การกำหนดแต้มของหลุม
ถ้ากฎข้อบังคับอนุญาตให้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้เลือกไว้ล่วงหน้าแล้ว จะต้องนับแต้มของลูกที่เลือกไว้เป็นแต้มจริงของหลุมนั้น ถ้าผู้เข้าแข่งขันไม่แจ้งล่วงหน้าในการตัดสินใจที่จะนำกฎข้อนี้มาใช้ หรือไม่แจ้งล่วงหน้าในการเลือกลูกใดลูกหนึ่งของตน จะต้องนับแต้มของลูกเดิม หรือถ้าลูกเดิมไม่ใช่หนึ่งในสองลูกที่กำลังใช้เล่น ลูกแรกที่นำมาใช้เล่นจะต้องนับเป็นแต้มของหลุมนั้น การนับในสองกรณีดังกล่าว จะต้องนับลูกที่กฎข้อบังคับอนุญาตให้ปฏิบัติได้สำหรับการเล่นลูกนั้นๆ
หมายเหตุ 1 ถ้าผู้เข้าแข่งขันเล่นลูกที่สอง ไม่นับแต้มปรับโทษที่เกิดขึ้นเฉพาะการเล่นลูกที่ใช้กฎข้อบังคับตัดสินไปแล้ว และจะต้องไม่คำนึงถึงแต้มที่ทำได้ในภายหลังด้วยลูกนั้น
หมายเหตุ 2 ลูกที่สองที่ใช้เล่นตามกฎข้อ 3-3 นี้ ไม่ใช่เป็นกฎลูกสำรองภายใต้กฎข้อ 27-2
3-4 การปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ
ถ้าผู้เข้าแข่งขันปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ และไปละเมิดสิทธิ์ของผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ผู้เข้าแข่งขันจะต้องถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
3-5 การปรับโทษทั่วไป
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อบังคับในการเล่นแบบสโตรกเพลย์คือ ปรับสองแต้ม เว้นแต่กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
แนะนำการดูกอล์ฟกีฬากอล์ฟเป็นกีฬาสากลที่ทั่วโลกนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายรวมถึงประเทศไทยซึ่งในปัจจุบันได้มีสนามกอล์ฟที่สวยงามและมีมาตรฐานเกิดขึ้นหลายแห่ง อีกทั้งยังได้มีผู้ที่ได้ให้ความสนใจ และหันมาเล่นกอล์ฟเพิ่มขึ้นทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกันกับในประเทศอื่นๆ กอล์ฟเป็นกีฬาที่เล่นในยามว่างเป็นกีฬาที่ยืนด้วนข้างแล้วใช้ไม้กอล์ฟตีลูกจากเขตตั้งทีต่อเนื่องกันไปจนกระทั่งลูกลงหลุม และจะต้องใช้เวลาเผื่อไว้ในการเล่นซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาตั้งแต่ 3-4 ชั่วโมงต่อการเล่นรอบตำนวน 18 หลุม หรืออาจจะใช้เวลาน้อยกว่านั้น หากต้องการโดยลดจำนวนหลุมที่เล่นลงไปเหลือ 9 หลุม
สนามสนามกอล์ฟประกอบด้วยจำนวนหลุม 18 หลุม การเล่นหนึ่งหลุมนับตั้งแต่ตีลูกจากเขตตั้งทีของหลุมนั้นต่อเนื่องไปจนกระทั่งลูกลงหลุมเรียกได้ว่าเล่นจบไปแล้วหนึ่งหลุม ในแต่ละหลุมจะมีความยากง่ายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบมาให้เล่น นอกจากนั้นยังมีส่วนประกอบอื่นๆ มากมาย เช่นระยะความยาวและความสั้นของแต่ลหลุม อุปสรรคน้ำ บ่อบังเกอร์ทราย เป็นต้น เพื่อที่จะทำให้การเล่นท้าทายขึ้น สำหรับสนามมาตรฐานจะมีจำนวนหลุม 18 หลุมหรือมากกว่านั้น อาจจะมีจำนวนถึง 36 หลุม (เท่ากับ 4 รอบๆ ละ 9 หลุม) โดยใช้จำนวน 9 หลุมของแต่ละรอบมารวมกันให้ครบในการแข่งขันต่อรอบที่กำหนดเท่ากับ 18 หลุม
หลุมแต่ละหลุมมีกำหนดมาตรฐาน (Par-พาร์) ของจำนวนครั้งที่ตี ถ้าผู้เล่นตีได้จะเท่ากับจำนวนแต้มที่ตีได้ตามมาตรฐาน (par-พาร์) ของหลุมนั้นวิธีการนับแต้มที่ตีได้ทั้งหมด
  • หลุมที่ระบุว่าเป็นหลุมพาร์ 3 (Par 3) โดยทั่วไปมีความยาวไม่เกิน 250 หลา ถ้าผู้เล่นตีตั้งแต่เขตตั้งทีจนกระทั่งลูกลงหลุมในจำนวนตี 3 ครั้งก็เท่ากับว่ามีความสามารถที่ตีได้เท่ากับแต้มมาตรฐานของหลุมนี้ เรียกว่าทำพาร์ได้
  • หลุมที่ระบุว่าเป็นหลุมพาร์ 4 (par 4) มีความยาวตั้งแต่ 251 หลาถึง 499 หลา ถ้าผู้เล่นตีตั้งแต่เขตตั้งทีจนกระทั่งลูกลงหลุมในจำนวนตี 4 ครั้งก็เท่ากับว่ามีความสามารถที่ตีได้เท่ากับแต้มมาตรฐานของหลุมนี้ เรียกว่าทำพาร์ได้
  • หลุม ที่ระบุว่าเป็นหลุมพาร์ 5 (par 5) มีความยาว 500 หลาขึ้นไป ถ้าผู้เล่นตีตั้งแต่เขตตั้งทีจนกระทั่งลูกลงหลุมในจำนวนตี 5 ครั้งเท่ากับว่ามีความสามารถที่ตีได้เท่ากับแต้มมาตรฐานของหลุมนี้ เรียกว่าทำพาร์ได้
แต้มรวมของ 18 หลุมที่ต่ำที่สุดถือว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถที่ดีกว่า ยกเว้นการแข่งขันบางประเภท
ชื่อที่ใช้เรียกตามจำนวนแต้มที่ตีได้ของแต่ละหลุม ตัวเลขคือจำนวนแต้มรวมของจำนวนครั้งที่ตี โดยเริ่มที่ พาร์ของหลุม (แต้มมาตรฐาน) มีดังนี้
ดับเบิ้ลอีเกิ้ล
หรืออัลบาทรอส
อีเกิ้ลเบอร์ดี้พาร์ของหลุม
(แต้มมาตรฐาน)
โบกี้ดับเบิ้ลโบกี้ทริบเพิ้ลโบกี้
123456
1234567
2345678
หมายเหตุ : หลุมพาร์สามที่ตีครั้งเดียวลงหลุม มีชื่อเฉพาะเรียกว่าโฮลอินวัน
พาร์ของสนามที่มี 18 หลุม ส่วนใหญ่มีแต้มมาตรฐานรวมเท่ากับ 72 บางสนามมีแต้มมาตรฐานรวมของสนามเท่ากับ 70 หรือ 71 ขึ้นอยู่กับจำนวนหลุมที่เป็นพาร์ 3 พาร์ 4 และพาร์ 5 ยกตัวอย่างเช่น สนามที่มีพาร์ของสนามเท่ากับ 72 จะมี
  •  หลุมที่เป็นพาร์ 3 สี่หลุม มีแต้มมาตรฐานหลุมละสามแต้ม เท่ากับ 12 แต้ม
  •  หลุมที่เป็นพาร์ 4 สิบหลุม มีแต้มมาตรฐานหลุมละสี่แต้ม เท่ากับ 40 แต้ม
  • หลุมที่เป็นพาร์ 5 สี่หลุม มีแต้มมาตรฐานหลุมละห้า เท่ากับ 20 แต้ม
รวมแต้มมาตรฐานของสนาม (Par of the coourse-พาร์ออฟเดอะคอร์ส) เท่ากับ 72 แต้ม สนามที่มีแต้มมาตรฐานรวม 71 หรือ 70 คณะกรรมการจัดการแข่งขันอาจจะใช้การปรับลดหลุมที่เป็นพาร์ 5 ลงไปเป็นหลุมพาร์ 4 จำนวนหนึ่งหรือสองหลุม
คำที่ใช้เรียกแต้มรวมทั้งหมดที่ตีได้สำหรับสนามที่มีแต้มมาตรฐานรวมเท่ากับ 72
  • ถ้าผู้เล่นนตีได้ 72 แต้ม เรียกว่า สแควร์พาร์ (square par)
  • ถ้าผู้เล่นนตีได้ ต่ำกว่า 72 แต้ม เรียกว่า อันเดอร์พาร์ (under par) หรือ
  • ถ้าผู้เล่นนตีได้ เกิน 72 แต้ม เรียกว่า โอเว่อร์พาร์ (over par) เช่น
  • ถ้าผู้เล่นตีได้ 70 แต้ม เรียกว่า -2 หรือ สองอันเดอร์พาร์ หรือ
  • ถ้าผู้เล่นตีได้ 74 แต้ม เรียกว่า +2 สองโอเว่อร์พาร์
หมุดบนเขตตั้งทีที่แสดงสีแตกต่างกันเป็นการเลือกเล่นตามระยะของหลุมนั้นๆ ที่มีระยะความสั้น และความยาวแตกต่างกันกับสีอื่นๆ เมื่อผู้เล่นเริ่มเล่นที่หมุดสีใด จะต้องเล่นตามหมุดสีนั้นๆ จนจบรอบการแข่งขันตามที่คณะกรรมการกำหนดไว้ เช่น
  • หมุดสีแดงสำหรับสุภาพสตรี
  • หมุดสีขาวหรือสีเหลืองสำหรับสุภาพบุรุษ
  • หมุดสีน้ำเงินหรือสีดำสำหรับนักกอล์ฟอาชีพ
ผู้เล่นอาจจะใช้หมุดบนเขตตั้งทีสีใดเพื่อให้การเล่นท้าทายมากขึ้นก็ได้
แต้มต่อ (Handicap)
คำว่าแต้มต่อ หมายถึงระดับความสามารถของนักกอล์ฟสมัครเล่นแต่ละคน ผู้เล่นที่มีแต้มตต่อน้อยกว่า จะมีความสามารถในการเล่นมากกว่าผู้เล่นที่มีแต้มต่อมากกว่า สำหรับนักกอล์ฟอาชีพไม่มีแต้มต่อ แต่ใช้แต้มรวมมาแข่งขัน
สนามกอล์ฟทุกสนามจะมีช่องบอกแฮนดี้แค็ปสเกลของแต่ละหลุม (ช่องที่ระบุคำย่อ H.S. มาจากคำว่า Handicap Scale อ่านว่าแฮนดี้แค็ปสเกล) หมายถึงหลุมที่มีแฮนดี้แค็ปสเกลต่ำที่สุดคือเท่ากับ 1 จะเป็นหลุมที่มีความยากที่สุดตามลำดับถึง 18
นักกอล์ฟที่มีแต้มต่อ สนามจะให้แต้มต่อกับผู้เล่นทำได้ทั้งหมดเรียกว่าแต้มรวม (Gross Score อ่านว่า กรอสสกอร์) หักด้วยแต้มต่อ ก็จะได้แต้มสุทธิ (Net Score อ่านว่า เนทสกอร์) ผู้ที่ได้แต้มสุทธิต่ำสุดคือผู้ชนะการแข่งขัน
ในการแข่งขันแบบนับแต้ม จะต้องนำจำนวนตีที่ผู้เล่นทำได้ทั้งหมดเรียกว่าแต้มรวม (Gress Score อ่านว่า กรอสสกอร์ หักด้วยแต้มต่อ ก็จะได้แต้มสุทธิ (Net Score อ่านว่า เนทสกอร์) ผู้ที่ได้แต้มสุทธิต่ำสุดคือผู้ชนะการแข่งขัน
ในการแข่งขันนับหลุมระห่างนักกอล์ฟที่มีแต้มต่อต่างกัน เช่น แต้มต่อ 18 และ 15 ผู้เล่นที่มีแต้มต่อ 18 จะได้รับการต่อหลุมละหนึ่งแต้มจากหลุมที่ระบุแฮนดี้แค็ปสเกล 1, 2 และ 3 จากผู้ล่นที่มีแต้มต่อ 15 เป็นต้น
การเล่นและการแข่งขันการแข่งขันทั่วๆ ไปสำหรับนักกอล์ฟสมัครเล่นจะทำการแข่งขันตามรอบที่กำหนด 18 หลุม ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 วัน แต่การแข่งขันระดับนักกอล์ฟอาชีพหรือแข่งขันชิงแชมป์รายการสำคัญ จะแข่งกันในบางรายการ 3 วันๆ ละ 18 หลุมรวม 54 หลุม บางรายการแข่งขัน 4 วันๆ ละ 18 หลุมรวม 72 หลุม ขึ้นอยู่กับรอบที่กำหนดโดยคณะกรรมการจัดการแข่งขัน
ประเภทการเล่น
การเล่นในกีฬากอล์ฟแบ่งออกเป็นหลายแบบ ในแต่ละแบบก็จะแบ่งย่อยออกเป็นหลายประเภทดังนี้
1. การเล่นแบบนับแต้ม นำจำนวนแต้มรวมของแต้มที่ตีได้ ผู้ที่ตีน้อยครั้งที่สุดเป็นผู้ชนะ
2. การเล่นแบบนับหลุม ผู้ที่ชนะหลุมมากที่สุดเป็นผู้ชนะ การแข่งขันหรือการเล่นแบ่งเป็นประเภทดังนี้
  • การเล่นประเภทเดี่ยว คือ การเล่นแบบนับหลุมระหว่างผู้หนึ่งคนกับผู้เล่นอีกหนึ่งคน
  • การเล่นประเภทสามคนสองลูก คือ การแบบนับหลุมระหว่างผู้เล่นในฝ่ายที่มีหนึ่งคนกับผู้เล่นอีกฝ่ายที่มีสองคน แต่ละฝ่ายใช้ลูกเล่นหนึ่งลูก
  • การเล่นประเภทสี่คนสองลูก คือ การเล่นแบบนับหลุมระหว่างผู้เล่นสองฝ่ายๆ ละสองคน แต่ละฝ่ายใช้ลูกเล่นหนึ่งลูก
  • การเล่นประเภทสามคนสามลูก คือ การเล่นแบบนับหลุมระหว่างสามฝ่ายๆ ละหนึ่งคน โดยแข่งพบกันหมด
  • การเล่นประเภทลูกดีที่สุด คือ การเล่นแบบนับหลุมระหว่างผู้เล่นหนึ่งคนกับอีกฝ่ายที่มีผู้เล่นสองคนโดยเลือกลูกที่ดีกว่า หรือเล่นกับอีกฝ่ายหนึ่งที่มีผู้เล่นสามคนโดยเลือกลูกที่ดีที่สุด
  • การเล่นประเภทสี่ลูก คือ การเล่นแบบนับหลุมระหว่างผู้เล่นสองฝ่ายๆ ละสองคน โดยแต่ละฝ่ายเลือกที่ดีกว่า
3. การเล่นแบบสเตเบิ้ลฟอร์ด เป็นการเล่นแบบนับคะแนนบวกของหลุมที่ทำแต้มได้ เช่น ใช้พาร์ ดู par ของแต่ละหลุมเป็นเกณฑ์ เช่น
  • แต้มที่ตีได้เกินพาร์ของหลุมที่เล่นสองแต้ม จะไม่ได้คะแนน
  • แต้มที่ตีได้เกินพาร์ของหลุมที่เล่นหนึ่งแต้ม จะได้หนึ่งคะแนน
  • แต้มที่ตีได้เท่ากับพาร์ของหลุมที่เล่น จะได้สองคะแนน
  • แต้มที่ตีได้ต่ำกว่าพาร์ของหลุมที่เล่นหนึ่งแต้ม จะได้สามคะแนน
  • แต้มที่ตีได้ต่ำกว่าพาร์ของหลุมที่เล่นสองแต้ม จะได้สี่คะแนน
  • แต้มที่ตีได้ต่ำกว่าพาร์ของหลุมที่เล่นสามแต้ม จะได้ห้าคะแนน
  • แต้มที่ตีได้ต่ำกว่าพาร์ของหลุมที่เล่นสี่แต้ม จะได้หกคะแนน
แล้วบวกคะแนนของทุกหลุมในรอบของการแข่งขัน ผู้ที่ทำคะแนนมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน
กฏสนาม
เป็นกฏในแต่ละสนามจะกำหนดขึ้นตามความเหมาะสมของสภาพสนาม ภูมิประเทศ และการวางรูปแบบสนาม เช่น จุดfree drop แนวถนน ไม้ค้ำยันต้นไม้ หัวฉีดน้ำ เป็นต้น
กฏโลกันต์เป็นกฏที่กลุ่มกำหนดขึ้นเอง โดยส่วนใหญ่จะกำหนดให้ต้องเล่นบอล ทุกสภาพไม่มี free drop ซึ่งหากเล่นไม่ได้ หรือไม่เสี่ยงที่จะเล่น ต้องยอมถูกปรับ 1 stoke ถือว่าเป็นกฏที่ค่อนข้างโหด แต่อาจเหมาะสำหรับ กลุ่มที่เล่นแบบมีค่าสึกหรออุปกรณ์ ค่าน้ำมัน หรือค่าเครื่องดื่ม

กติกา
การคิดคะแนนแบบต่าง ๆ ซึ่ง การจัดการแข่งขันทุกประเภท จะระบุกติกาการคิดคะแนน ตามความเหมาะสมของประเภทการแข่งขัน ซึ่งการคิดคะแนนแต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น